หน้าหลัก / หลากหลายความประทับใจ / การออกแบบที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพบริบทและข้อจำกัด


การออกแบบที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพบริบทและข้อจำกัด
จำนวนผู้เข้าชม : 7862

ACHIEVE THE GREEN BY THE CONTEXT


“แนวคิดากรออกแบบอาคารและงานสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดลอมหรืออาคารเขียว (Green Architecture) นั้น แม้จะไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่ในยุคสมัยปัจจุบัน แต่การไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าวนั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงและมากด้วยแง่มุมให้วิเคราะห์อย่างไม่จบสิ้น ทั้งในแง่ของวิธีการ ขั้นตอน จนถึงวัสดุที่เหมาะสมภายใต้บริบทอันหลากหลายของงานออกแบบซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติวุฒิ ชัยสัสดิ์อารี อาจารย์ประจำคณะสภาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ผ่านงานออกแบบอาคารของสถาบันมาอย่างยาวนาน ก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้เสนอแนวทางในการออกแบบอาคารสีเขียวที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพบริบทและข้อจำกัดได้โดยเข้าถึงสมดุลของการใช้งานอาคาร ให้เกียรติมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองในแนทางดังกล่าวกันในครั้งนี้”

ประวัติการทำงานเบื้องต้นของอาจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี เป็นอาจารย์ประจำคณะสภาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกเหนือจากการสอนและการวิจัยที่เป็นหน้าที่หลังของอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว อาจารย์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริการวิชาการซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจที่คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยต้องมีส่วนในการทำงานด้านการบริการวิชาการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสพการณ์จริงเพื่อนำมาใช้ร่วมกับการสอนและการวิจัย

ผลงานออกแบบที่ผ่านมาของอาจารย์

ผลงานออกแบบที่เป็นงานบริการวิชาการจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรมและควบคุมงานก่อสร้างให้กับหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาขอรับบริการ สำหรับจำนวนผลงาน ก็อาจจะนับได้ว่าพอสมควรในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละงานจะมีปัจจัยที่แตกต่างกันซึ่งไม่มีงานไหนที่ชอบหรือไม่ชอบเป็นพิเศษครับ เพราะทุกงานต่างมีความโดนเด่นที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นงานที่ให้อิสระในการออกแบบเต็มที่ หรืองานที่มากายด้วยข้อจำกัดในด้านต่างๆ ซึ่งถ้าเป็นงานออกแบบอาคารของหน่วยงานราชการแล้วมักจะอยู่ในข้อจำกัดทางด้านเวลาและงบประมาณเสมอ จึงเป็นหน้าที่ของสถาปนิกจะต้องออกแบบให้สถาปัตยกรรมนั้นมีความเหมาะสมในการใช้งานมีคุณค่าในเชิงสุนทรียภาพให้สูงที่สุด ซึงหลังๆที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ คือการตอบโจทย์ในด้านประโยชน์การใช้งานสูงสุด การออกแบบบให้เข้ากับบริบทแวดล้อมที่มันตั้งอยู่ รวมถึงการใช้ระบบโครงสร้างและวัสดุที่เหมาะสม

แนวทางการออกแบบของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับแนวคิดเชิงอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ปัจจับันเป็นหนึ่งในแนวทางหลักที่พิจารณาในการออกแบบอาคารในหน่วยงานของภาครัฐ สามารถมองได้หลายด้าน ตั้งแต่การวางตำแหน่งอาคารที่สัมพันธ์กับบริบทแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุที่ช่วยในการลดการสะสมความร้อน การเลือกระบบอาคารที่เหมาะสม รวมถึงการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติและการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติเพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งผมเองก็จะออกแบบโดยพิจารณาแนวคิดในการประหยัดพลังงานด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมครับ

การใช้หลังคาโปร่งแสงถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการออแบบเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยหรือไม่

จะว่าอย่างนั้นก็ได้ครับ เพราะการใช้วัสดุที่มีความโปร่งแสง เป็นการช่วยนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในตัวอาคาร เป็นการลดการใช้พลังงาน หรืออาคารบางแห่งที่มีลักษณะการใช้งานที่เปิดโล่งเป็นส่วนใหญ่ เช่นงานออกแบบโครงการตลาดพันธุ์ไม้ 2 ก็มีการใช้หลังคาโปร่งแสง เพราะวางแผนเอาไว้ว่าจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับขายต้นไม้ในอนาคต มีการคำนวนเอาไว้แล้วว่าจะให้แสงมากน้อยเพียงใด คุณภาพแสงแบบไหน ซึงจะต้องพิจารณาการใช้ร่วมกับดวงโคมกรณีที่ปริมาณแสงธรรมชาติไม่พอ แต่ข้อพิจารณาการใช้แสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารกับสภาพอากาศเมืองร้อนแบบบ้านเราอาจนำพาความร้อนเข้ามาด้วยในเวลาเดียวกัน จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่และทิศทางของการรับแดดของอาคาร

พูดคุยทำความเข้าใจกับเจ้าของโครงการหรือผู้ว่าจ้างอย่างไรในการออกแบบอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน

ในปัจจุบันแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานนั้นแทบจะเป็นข้อบังคับและกฏหมายไปแล้วครับ โดยเฉพาะอาคารของภาครัฐ อีกทั้งแนวทางดังกล่าวเองก็เริ่มอยู่ในความสนใจของคนไทยมามากกว่าห้าปี และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานก็มีราคาที่ต่ำลงอีกทั้งมีให้เลือกมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ยากครับที่จะอธิบายให้เจ้าของโครงการได้เห็นความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว

วัดผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากตัวอาคารที่อาจารย์ได้ออกแบบ ที่มีกับผู้ใช้งาน

ผมมองว่าผลสัมฤทธิ์ในเรื่องของการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคารนั้น นอกเหนือจากการลดการใช้พลังงานที่เป็นแสงสว่างจากหลอดไฟแล้วการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคารยังสร้างมิติของเคลื่นไหวของแสงธรรมชาติภายนอกที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ภายใน ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่าอาคารสาธารณะหรือห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ในปัจจุบันต่างก็เริ่มมีการออกแบบโดยพยายามนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในพื้นที่โถงและทางเดินหลังภายในอาคารเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานและยังเป็นแสงที่มีคุณภาพในการใช้งาน ซึ่งจะต้องมีการออกแบบบให้มีการใช้งานร่วมกับแสงประดิษฐ์ให้เหมาะสมหรือสร้างบรรยากาศของแสงที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
จากมุมมองของอาจารย คิดว่าอาคารแบบใดที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศเขตร้อนชื้น

ประการแรกอาคารที่ออกแบบจะต้องมีการระบายอากาศได้ดีและมีการลดการนำพาความชื้นเข้ามาในพื้นที่ได้ ประการที่สองคือ วัสดุที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติในการไม่สะสมความร้อนและสะท้อนความร้อนได้ดีถ้ามีความต้องการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารนั้นต้องเป็นวัสดุที่นำแสงธรรมชาติเข้ามาได้มากและมีคุณสมบัติในการสะท้อนหรือลดปริมาณความร้อนเข้าสู่อาคารได้มากเช่นกัน

ในฐานะที่อาจารย์เป็นนักออกแบบที่ใส่ใจกับแนวคิดด้านการอนุรักษ์พลังงาน มีคำแนะนำใดสำหรับนักออกแบบรุ่นหลังที่จะเดินตามแนวทางนี้บ้างครับ

โดยหลักแล้ว คือต้องออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทและการใช้งานของผู้ใช้อาคาร รวมถึงเข้าใจข้อจำกัดที่เกิดขึ้นเพื่อที่เราจะได้แก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้นและการใช้ทรัพยากรเพื่อการก่อสร้างนั้นต้องประหยัดและมีการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้ คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานหรือสถาปัตยกรรมสายสีเขียด้วยกันแทบทั้งสิ้น

จะเห็นได้ว่า แม้จะมีจุดมุ่งหมายปลายทางในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนและอนุรักษ์พลังงานเหมือนกัน แต่วิธีการที่จะเข้าถึงผลสมฤทธิ์การใช้อาคารนั้นก็สามารถเป็นไปได้อย่างหลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งการเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจซึ่งผู้ออกแบบสามารถนำไปปรับใช้ได้ในโครงการต่างๆ และ Ampelite ในฐานะผู้ผลิตวัสดุสำหรับงานออกแบบชั้นนำ ก็ได้คิดค้นและพัฒนาคุณลักษณะของหลังคาโปร่งแสง เพื่อให้เจ้าของโครงการและผู้ออกแบบมั่นใจได้ว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะด้วยมิติทางด้านงบประมาณ การออกแบบ หรือแนวทางอนุรักษ์ธรรมชาติและพลังงานก็ตาม

ฟอร์มติดต่อ

สินค้าแนะนำ
หลังคากันสาดแอมเพอแรม
หลังคากันสาดแอมเพอแรม



Tags

หลังคาไฟเบอร์ หลังคาโรงงาน หลังคาเหล็ก หลังคาโพลีคาร์บอเนต หลังคาเมทัลชีท โครงหลังคา กันสาด หลังคาโปร่งแสง กันสาดหน้าบ้าน กันสาดโปร่งแสง กันสาดโรงรถ สกรู หลังคาสะท้อนคลื่นความร้อน หลังคาลดความร้อน หลังคาประหยัดพลังงาน หลังคาทนทานสารเคมี หลังคาปลอดสนิม หลังคาเพิ่มความสว่าง หลังคาไม่ลามไฟ หลังคากันสาด กันสาดหลังบ้าน หลังคาVirginPolycarbonate ตกแต่งบ้าน ผนังโปร่งแสง ติดตั้งหลังคา แผ่นโพลีคาร์บอเนต แผ่นหลังคาโปร่งแสง กันสาดเมทัลชีท หลังคาไวนิล หลังคาใส รับติดตั้งหลังคา แผ่นดีไลท์ กันสาดดีไลท์ น๊อตยึดหลังคา แผ่นเมทัลชีท ราคาเมทัลชีท สกรูยึดหลังคา สกรูยิงหลังคา หลังคาไฟเบอร์กลาส แผ่นหลังคาใส หลังคาโปร่งแสงราคา ศูนย์รวมกันสาด แผ่นโปร่งแสง แผ่นใสมุงหลังคา ต่อเติมหลังบ้าน กันสาดบ้าน หลังคาโมเดิร์น ต่อเติมหลังคาหน้าบ้าน หลังคาโพลี่ หลังคาPolycarbonate หลังคากระจก